- แม่ชาวอเมริกันบอกเล่าปัญหาของลูกที่เป็นออทิสติกกับคนขับรถรับจ้างผ่านแอปพลิเคชั่น จนทำให้ลูกของเธอถูกแบนและไม่สามารถใช้งานแอปฯ ดังกล่าวได้อีก
- อาหารแปรรูปส่งผลให้ความจำเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น
ความทรงจำของมนุษย์ถูกพัฒนามาพร้อมกับพัฒนาการทางสมองตั้งแต่วัยเด็ก โดยพบว่า ความทรงจำมนุษย์มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในช่วงอายุ 20 ปี เมื่ออายุมากขึ้น ความทรงจำก็จะเริ่มเสื่อมถอยลงไปเรื่อย ๆ ตามวัย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่มนุษย์จะต้องได้รับการกระตุ้นพัฒนการความจำเสมอ เพราะปัจจุบันปัจจัยแวดล้อมหลาย ๆ อย่างกระตุ้นให้เกิดภาวะความจำเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ ได้ สำหรับใครที่สงสัยว่า ทำไมเมื่อคนเราโตแล้วยังต้องฝึกกระบวนการจำให้กับสมอง รายการ #โรงหมอ เล่าเรื่องนี้ให้ฟังค่ะ
การฝึกความจำให้กับเด็ก เป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงแค่ฝึกให้จำเท่านั้น แต่การให้ลงมือทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ไปด้วยจะทำให้เด็กมีพัฒนาการได้ดีขึ้น เช่น การฝึกให้จำตัวอักษรแล้วนำมาใช้บ่อย ๆ หรือแม้แต่การฝึกหรือสอนให้สวมเสื้อผ้าเอง เมื่อเด็กทำซ้ำบ่อย ๆ ด้วยตัวเอง ก็จะสามารถสวมเสื้อผ้าได้เองอย่างถูกต้อง แต่สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ การไม่ให้เด็กฝึกฝนหรือฝึกให้คิดวางแผนด้วยตัวเอง แต่พ่อแม่ทำให้เด็กทุกอย่าง จะส่งผลเสียกับเด็กอย่างยิ่ง เพราะทำให้เขาทักษะและความจำที่น้อยลง การฝึกความจำสำหรับเด็กทำอย่างไร รายการ โรงหมอ เล่าให้ฟังค่ะ
"ลืม" เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เครื่องมือที่ป้องกันอาการลืมได้ดีที่สุดคือการจดแทนการจำเพียงอย่างเดียว ยิ่งปัจจุบันนี้มีเครื่องมือที่ช่วยเตือนความจำของเราได้เป็นอย่างดีนั่นคือ "สมาร์ตโฟน" แม้จะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่สำหรับคนที่มีอาการขี้ลืมอยู่บ่อย ๆ ย่อมส่งผลกระทบรอบด้านแน่นอน
สำหรับคนที่มีอาการขี้ลืมหรือหลงลืม มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง แก้ไขหรือปรับปรุงอะไรได้บ้าง และที่สำคัญมีโอกาสพัฒนาไปสู่การเป็นอัลไซเมอร์ ในอนาคตได้หรือไม่ รายการ โรงหมอ เล่าให้ฟังค่ะ
ทำยังไงให้ความจำดีขึ้น? อาหารเสริมที่โฆษณาว่าช่วยบำรุงสมองฟื้นฟูความจำช่วยได้จริงหรือไม่ และคำแนะนำให้กินอาหารที่มีประโยชน์หรือสารสกัดจะทำให้จำดีได้จริง ๆ ตามที่บอกกันมาหรือเปล่า เมื่อสมองไม่ได้เป็นเหมือนฮาร์ดดิสก์ที่จะเก็บความทรงจำทุกอย่างแบบ 100% ทำแบบไหนที่จะช่วยให้เราจำเรื่องต่าง ๆ ได้ และไม่ได้มีเพียงเรื่องอาหารที่สงสัยกัน เพราะพฤติกรรมของเราก็เสี่ยงทำให้จดจำได้ไม่ดีด้วย ชวนมาไขข้อสงสัยกัน กับ ดร.พงศกร สายเพ็ชร์
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเร่งช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียหายจากเหตุฆาตกรรมหมู่ศูนย์เด็กเล็ก จ.หนองบัวลำภู
ฟังรายละเอียดจาก คุณธีรยุทธ แก้วสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ โฆษกกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ว่าสิทธิที่ผู้เสียหายจะได้รับการชดเชยเยียวยา ทั้งกรณีเสียชีวิต และบาดเจ็บ มีอะไรบ้าง
การลงพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู เพื่อตั้งจุดรับลงทะเบียน ที่ไหน ญาติผู้เสียหายต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้าง
แนวทางการทำงานหรือผลักดันกฎหมายที่จะป้องกันความรุนแรง มีการขับเคลื่อนการทำงานอย่างไร
คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา กับ ชนาธิป ไพรพงค์
ตอน สารกำจัดวัชพืชไกลโฟเซตอาจเป็นปัจจัยทำให้ความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
การดื่มเหล้าแต่ละคนให้ผลลัพธ์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับร่างกายและปริมาณที่ดื่ม แม้จะมีงานวิจัยออกมารับรองผลดีของการดื่มเหล้าแต่นั่นคือในปริมาณ ระยะ และเวลาที่เหมาะสม สิ่งที่คุณก็ต้องรู้มากไปกว่านั้นคือ เหล้าทุกอึกทุกหยดที่คุณดื่มเข้าไป นอกจากทำให้คุณเมา ร่างกายของคุณกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงอะไรบ้าง
ความเสี่ยงแรกที่ต้องเจอคือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น หากดื่มต่อเนื่องนานหลายปี เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะเสื่อมเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เซลล์สมองถูกทำลาย ความจำเสื่อม ไขมันพอกตับ ตับโต ตับอักเสบ ฯลฯ
นี่เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั่นที่ร่างกายตอบสนองจากแอลกอฮอล์ ยังมีเรื่องพิษเฉียบพลันและเรื้อรังที่ อายุรแพทย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาเล่าให้ฟัง
แม้การศึกษาวิจัยพบว่า การเสพติดกัญชา ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายเท่ากับการติดเหล้าหรือบุหรี่ แต่หากเสพในระยะเวลานานก็ติดกัญชาได้ แต่อะไรหล่ะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า เรา, ผู้ใช้หรือผู้เสพ กำลังอยู่ในภาวะเสพติดกัญชา
สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้ว่าติดกัญชาหรือไม่คือ จะใช้กัญชาในปริมาณที่มากขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะร่างกายเริ่มปรับหรือทนได้ เมื่อใช้ในระยะเวลานานแล้วมาถึงจุดที่หยุดใช้ ร่างกายจะแสดงอาการถอนกัญชา แต่อาการจะแสดงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาในการใช้หรือเสพ รวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับกัญชาที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมโดยแพทย์
ความจำ..เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กๆ เพราะจะทำให้การเรียนรู้ในห้องเรียนและเรื่องรอบตัวสนุกมากๆแต่จะทำอย่างไรให้เป็นเด็กที่มีความจำดี อยากรู้ฟังพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง
เกมเป็นสิ่งที่เด็กๆ ชอบ แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ชอบ แต่จริงๆ แล้ว เกมมีมากมายหลายประเภท ถ้าเด็กๆเลือกเล่นเกมที่ดี ก็จะส่งผลให้มีความจำยอดเยี่ยมได้นะ อยากรู้เกมที่พัฒนาความจำคือเกมแบบไหน ฟังพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง
ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของเปลือกสมอง (cerebral cortex) หรือวิถีประสาทที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทําให้เกิดความผิดปกติทางด้าน สติป้ญญา ความคิด ความจําบกพร่อง หลงลืม ทั้งความจําระยะส้ันและระยะยาว การตัดสินใจผิดพลาด ความคิดทางนามธรรมผิดไป มีปัญหาในการพูด พูดซ้ําๆ ซากๆ ไม่เข้าใจคําพูด ไม่สามารถปฏิบัติงานต่างๆ ในชีวิตประจําวัน มีความสับสนในเรื่องของเวลา สถานที่ บุคคล มีความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม อาการเหล่านี้มีผลกระทบทําให้ไม่สามารถทํางานหรืออยู่ในสังคมได้
ใคร ๆ ก็มักจะคิดว่าปลาทองเป็นปลาที่ความจำไม่ค่อยดี ความจำของมันจะสั้นมาก เพราะปลาทองมักจะลืมว่ามันกินอาหารแล้ว แต่เพียงไม่กี่นาทีหลังจากที่มันได้กินอาหารมันก็สามารถกินได้อีก แต่มีการทดลองมากมายที่ทำให้เรามันใจว่าปลาทองความจำสั้นหรือไม่ ติดตามได้ในรายการพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง
คืบหน้า คดีฟ้องกลุ่มเอไอเอส เรื่อง การคิดค่าโทรศัพท์แบบปัดเศษวินาทีเป็นนาที ศาลตัดสินไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีกลุ่ม ให้ดำเนินคดีสามัญแทน
การขอดำเนินคดีแบบกลุ่มคดีฟ้องกลุ่มเอไอเอส เรื่องการคิดค่าโทรศัพท์แบบปัดเศษวินาทีเป็นนาที ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่รับคำร้องอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มของโจทก์ และให้ดำเนินคดีแบบสามัญแทน โดยให้เหตุผลว่า การดำเนินคดีแบบกลุ่มมิได้เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินคดีสามัญ ไม่มีข้อมูลว่าสมาชิกในกลุ่มถูกเรียกเก็บค่าบริการเกินการใช้งานจริงไปเท่าไร อีกทั้งค่าเสียหายในคำขอบังคับ ไม่ได้ระบุหลักการและวิธีการคำนวณเพื่อชำระเงินให้แก่สมาชิก ส่วนในเรื่องของการคิดค่าบริการปัดเศษของบริษัทเอไอเอสนั้น ผู้ให้บริการมีโปรโมชั่นคิดค่าโทรเป็นวินาที ซึ่งสามารถเปลี่ยนโปรโมชั่นหรือผู้ให้บริการได้ตลอดเวลา
สารกำจัดศัตรูพืช
ศาลอุทธรณ์ในสหรัฐฯ พิพากษาให้บริษัทผลิตสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ชดใช้ค่าเสียหายให้คู่สามีภรรยา ที่ฟ้องร้องเพราะใช้สารกำจัดศัตรูพืชแล้วป่วยเป็นมะเร็ง
ปัญหาซื้อของออนไลน์ สินค้าชำรุด เรียกร้องการชดเชยได้อย่างไร
ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ตอน การทำสมาธิอาจช่วยฟื้นความจำได้จริงหรือ
โรคอัลไซเมอร์ เป็นความบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองในกลุ่มโรคสมองเสื่อม อาการที่เด่นชัดคือ ความบกพร่องในกระบวนการทางความคิด ความจำ หลงวัน เวลา สถานที่ และแม้กระทั่งลืมคนใกล้ชิดหรือผู้ดูแล ความสามารถทางสติปัญญาลดลง เรียนรู้ได้ช้าลง ในด้านการรับรู้ก็จะเปลี่ยนไป ความสนใจและสมาธิลดลง การโต้ตอบและความสามารถในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมก็ถดถอยลง ผู้ป่วยอัลไซเมอร์จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธี เราจะดูแลอย่างไร และตัวของผู้ดูแลต้องจัดการความคิดและอารมณ์อย่างไร
พระราชาเมืองหนึ่ง บังเอิญได้รู้จักกับพราหมณ์แปลกหน้า ที่แนะนำคำสอนสามข้อให้พระราชาปฎิบัติตาม เพื่อแลกกับเงินเพียงน้อยนิด ซึ่งพระราชาได้ลองทำตามแนวทางของคำสอนนั้น ผลที่ออกมากลายเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงและเปลี่ยนชีวิตของพระราชาไปตลอดกาลเลยทีเดียว
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่ากลิ่นกุหลาบนอกจากจะหอมแล้ว ยังทำให้เรารู้สึกสดชื่น จนต้องมีการนำกลิ่นกุหลาบมาผลิตเป็นน้ำหอม น้ำยาปรับผ้านุ่ม และบรรดาเครื่องหอมต่าง ๆ แล้ว แต่ล่าสุดงานวิจัยก็ยังบอกว่า “กลิ่นกุหลาบทำให้ความจำดี” ได้อีกด้วย ใครที่สงสัย ว่ากลิ่นกุหลาบทำให้ความจำดีได้ยังไง ติดตามอย่าได้หนีไปไหนในช่วง รู้หรือไม่ ส่วนใครที่ชื่นชอบภาษาอังกฤษ วันนี้พี่หลุยส์กับพี่แนนมีความลับเกี่ยวกับการใช้ will มาฝาก ติดตามในช่วง ห้องเรียนสายชิล
ผลการศึกษาหลาย ครั้งตรงกันว่า ปลาทองมีความสามารถในการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มากพอๆ กับทักษะการเรียนรู้ด้านสังคม นอกจากนี้ พวกมันยังมีสายตาอันแหลมคมพอที่จะแยกแยะผู้คนที่มีลักษณะแตกต่างกันได้ด้วย ความสามารถในการเรียนรู้ของปลาทอง ก็คือ ปลาทองจะมีความคุ้นเคยกับเจ้าของ รวมถึงคนอื่น ๆ ด้วยอาหาร เวลาพวกมันเห็นเจ้าของ หรือใครก็ตามที่ให้อาหารเป็นประจำเดินผ่านไปผ่านมาบริเวณตู้ปลา พวกมันจะว่ายวนไปวนมาเพื่อขออาหารเสมอๆ นักจิตวิทยาในต่างประเทศได้ทำการทดลองเรื่องความจำของปลาทองพบว่า ปลาทองมีความจำไม่ต่ำกว่า 3 เดือน และยังสามารถแยกแยะรูปร่าง สี และเสียงที่แตกต่างกันได้อีกด้วย
ใครที่ตื่นสายในวันไปโรงเรียนจนเริ่มชินกับการไม่กินมื้อเช้า คงต้องคิดใหม่ซะแล้ว เพราะการศึกษามากมายบอกเราว่า มื้อเช้าส่งผลต่อความจำของเราด้วย พี่ลูกเจี๊ยบจะมาเฉลยให้ฟังวันนี้ในช่วง รู้หรือไม่ และสำหรับสายประวัติศาสตร์ วันนี้มีข่าวค้นพบของโบราณเพียบเลย ติดตามได้ในช่วง What’s going on? ปิดท้ายวันนี้ด้วยตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ที่เป็นระดับกษัตริย์ปกครองเมืองยักษ์
- แม่ชาวอเมริกันบอกเล่าปัญหาของลูกที่เป็นออทิสติกกับคนขับรถรับจ้างผ่านแอปพลิเคชั่น จนทำให้ลูกของเธอถูกแบนและไม่สามารถใช้งานแอปฯ ดังกล่าวได้อีก
- อาหารแปรรูปส่งผลให้ความจำเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น
ความทรงจำของมนุษย์ถูกพัฒนามาพร้อมกับพัฒนาการทางสมองตั้งแต่วัยเด็ก โดยพบว่า ความทรงจำมนุษย์มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในช่วงอายุ 20 ปี เมื่ออายุมากขึ้น ความทรงจำก็จะเริ่มเสื่อมถอยลงไปเรื่อย ๆ ตามวัย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่มนุษย์จะต้องได้รับการกระตุ้นพัฒนการความจำเสมอ เพราะปัจจุบันปัจจัยแวดล้อมหลาย ๆ อย่างกระตุ้นให้เกิดภาวะความจำเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ ได้ สำหรับใครที่สงสัยว่า ทำไมเมื่อคนเราโตแล้วยังต้องฝึกกระบวนการจำให้กับสมอง รายการ #โรงหมอ เล่าเรื่องนี้ให้ฟังค่ะ
การฝึกความจำให้กับเด็ก เป็นเรื่องสำคัญ ไม่เพียงแค่ฝึกให้จำเท่านั้น แต่การให้ลงมือทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ไปด้วยจะทำให้เด็กมีพัฒนาการได้ดีขึ้น เช่น การฝึกให้จำตัวอักษรแล้วนำมาใช้บ่อย ๆ หรือแม้แต่การฝึกหรือสอนให้สวมเสื้อผ้าเอง เมื่อเด็กทำซ้ำบ่อย ๆ ด้วยตัวเอง ก็จะสามารถสวมเสื้อผ้าได้เองอย่างถูกต้อง แต่สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ การไม่ให้เด็กฝึกฝนหรือฝึกให้คิดวางแผนด้วยตัวเอง แต่พ่อแม่ทำให้เด็กทุกอย่าง จะส่งผลเสียกับเด็กอย่างยิ่ง เพราะทำให้เขาทักษะและความจำที่น้อยลง การฝึกความจำสำหรับเด็กทำอย่างไร รายการ โรงหมอ เล่าให้ฟังค่ะ
"ลืม" เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เครื่องมือที่ป้องกันอาการลืมได้ดีที่สุดคือการจดแทนการจำเพียงอย่างเดียว ยิ่งปัจจุบันนี้มีเครื่องมือที่ช่วยเตือนความจำของเราได้เป็นอย่างดีนั่นคือ "สมาร์ตโฟน" แม้จะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่สำหรับคนที่มีอาการขี้ลืมอยู่บ่อย ๆ ย่อมส่งผลกระทบรอบด้านแน่นอน
สำหรับคนที่มีอาการขี้ลืมหรือหลงลืม มีสาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง แก้ไขหรือปรับปรุงอะไรได้บ้าง และที่สำคัญมีโอกาสพัฒนาไปสู่การเป็นอัลไซเมอร์ ในอนาคตได้หรือไม่ รายการ โรงหมอ เล่าให้ฟังค่ะ
ทำยังไงให้ความจำดีขึ้น? อาหารเสริมที่โฆษณาว่าช่วยบำรุงสมองฟื้นฟูความจำช่วยได้จริงหรือไม่ และคำแนะนำให้กินอาหารที่มีประโยชน์หรือสารสกัดจะทำให้จำดีได้จริง ๆ ตามที่บอกกันมาหรือเปล่า เมื่อสมองไม่ได้เป็นเหมือนฮาร์ดดิสก์ที่จะเก็บความทรงจำทุกอย่างแบบ 100% ทำแบบไหนที่จะช่วยให้เราจำเรื่องต่าง ๆ ได้ และไม่ได้มีเพียงเรื่องอาหารที่สงสัยกัน เพราะพฤติกรรมของเราก็เสี่ยงทำให้จดจำได้ไม่ดีด้วย ชวนมาไขข้อสงสัยกัน กับ ดร.พงศกร สายเพ็ชร์
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเร่งช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียหายจากเหตุฆาตกรรมหมู่ศูนย์เด็กเล็ก จ.หนองบัวลำภู
ฟังรายละเอียดจาก คุณธีรยุทธ แก้วสิงห์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ โฆษกกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ว่าสิทธิที่ผู้เสียหายจะได้รับการชดเชยเยียวยา ทั้งกรณีเสียชีวิต และบาดเจ็บ มีอะไรบ้าง
การลงพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู เพื่อตั้งจุดรับลงทะเบียน ที่ไหน ญาติผู้เสียหายต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้าง
แนวทางการทำงานหรือผลักดันกฎหมายที่จะป้องกันความรุนแรง มีการขับเคลื่อนการทำงานอย่างไร
คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา กับ ชนาธิป ไพรพงค์
ตอน สารกำจัดวัชพืชไกลโฟเซตอาจเป็นปัจจัยทำให้ความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์
การดื่มเหล้าแต่ละคนให้ผลลัพธ์แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับร่างกายและปริมาณที่ดื่ม แม้จะมีงานวิจัยออกมารับรองผลดีของการดื่มเหล้าแต่นั่นคือในปริมาณ ระยะ และเวลาที่เหมาะสม สิ่งที่คุณก็ต้องรู้มากไปกว่านั้นคือ เหล้าทุกอึกทุกหยดที่คุณดื่มเข้าไป นอกจากทำให้คุณเมา ร่างกายของคุณกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงอะไรบ้าง
ความเสี่ยงแรกที่ต้องเจอคือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ใจสั่น อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น หากดื่มต่อเนื่องนานหลายปี เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะเสื่อมเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ เซลล์สมองถูกทำลาย ความจำเสื่อม ไขมันพอกตับ ตับโต ตับอักเสบ ฯลฯ
นี่เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั่นที่ร่างกายตอบสนองจากแอลกอฮอล์ ยังมีเรื่องพิษเฉียบพลันและเรื้อรังที่ อายุรแพทย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาเล่าให้ฟัง
แม้การศึกษาวิจัยพบว่า การเสพติดกัญชา ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายเท่ากับการติดเหล้าหรือบุหรี่ แต่หากเสพในระยะเวลานานก็ติดกัญชาได้ แต่อะไรหล่ะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า เรา, ผู้ใช้หรือผู้เสพ กำลังอยู่ในภาวะเสพติดกัญชา
สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้ว่าติดกัญชาหรือไม่คือ จะใช้กัญชาในปริมาณที่มากขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะร่างกายเริ่มปรับหรือทนได้ เมื่อใช้ในระยะเวลานานแล้วมาถึงจุดที่หยุดใช้ ร่างกายจะแสดงอาการถอนกัญชา แต่อาการจะแสดงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาในการใช้หรือเสพ รวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับกัญชาที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมโดยแพทย์