ในทวีปแอฟริกา ปลาหมอคางดำ ถูกควบคุมปริมาณจากสัตว์ที่เป็นห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ แต่เมื่อมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมของไทยที่ไร้ศัตรูตามธรรมชาติจึงขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วไร้การควบคุม สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของหน่วยงานภาคร้ฐที่มีความหละหลวมในการควบคุม รวมถึงการสั่งการที่ไม่มีประสิทธิภาพต่อผู้ที่ควรต้องรับผิดชอบ ในมุมผู้เชี่ยวชาญ อดีตคณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างไร รายการ #โรงหมอ
ปลาหมอ ขึ้นชื่อว่าเป็นปลาที่มีความอึดอดทนอยู่แล้ว ประเทศไทยเองก็มีปลาสายพันธุ์นี้ซึ่งเป็นปลาท้องถิ่น แต่ ปลาหมอคางดำ ไม่ใช่สัตว์ท้องถิ่น เป็นเอเลียนสปีชีส์ตัวร้ายจากทวีปแอฟริกา ความร้ายกาจของปลาหมอคางดำ คือ การเข้ามาทำลายระบบนิเวศท้องถิ่นของไทย โดยเฉพาะสัตว์น้ำขนาดเล็ก โดยเฉพาะ ลูกกุ้ง ลูกปู และปลาขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นพันธุ์ปลาที่ขึ้นชื่อว่า ซูเปอร์อึกถึกทน อยู่ได้ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับประเทศไทย ไม่เพียงกระทบกับระบบนิเวศ แต่ยังกระทบกับการประมงน้ำจืดเป็นอย่างมาก ความร้ายกาจของปลาชนิดนี้เป็นอย่างไร #ปลากระพง แก้ไขได้จริงหรือเปล่า ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตคณบดีคณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ รายการ โรงหมอ
วิกฤตการณ์ “ปลาหมอคางดำ” ที่ถูกเรียกว่าเป็น “เอเลี่ยนสปีชีส์” ได้แพร่กระจายเผ่าพันธุ์ในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนปัจจุบัน สร้างความเดือนร้อนให้แก่ชาวประมงในหลายจังหวัด ทั้งทำลายระบบนิเวศทางน้ำ และปลาท้องถิ่นหายไปจนหมด ต้องเกิดมาตรการปราบปรามปลาอย่างจริงจังโดยฝ่ายรัฐและเอกชนที่ถูกผลกระทบ
.
เพลงดนตรีวิถีอาเซียน ครั้งนี้ได้รวมรวมบทเพลงจำนวนหนึ่งที่ถูกผลิตขึ้นในช่วงเวลาวิกฤตเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการปราบปรามและการนำปลาหมอคางดำไปแปรรูป บทเพลงเหล่านี้อาจทำหน้าที่ร่องรอยความทรงจำให้เราได้ถอดความรู้และหาทางอยู่ร่วมกับชีวิตน้อย ๆ ที่ถูกมองว่าเป็นอาชญากรอย่างเข้าใจกันได้ในอนาคต
- อุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เริ่มพบฉลามขาวในพื้นที่ชายฝั่งตอนกลางของแคลิฟอร์เนีย ซึ่งการมาถึงของสัตว์นักล่าสายพันธุ์นี้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในพื้นที่เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะนากทะเลที่ถูกทำร้ายมากขึ้นเรื่อยๆ
- อังกฤษเตรียมแบนสุนัขพันธุ์ American bully XL หลังมีคนถูกกัดจนเสียชีวิตและบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปีนี้ ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง
- ผลวิจัยชี้เหตุผลว่าทำไมอาหารที่น้องแมวทั่วโลกดูจะชื่นชอบกันมากที่สุดจึงหนีไม่พ้นปลาทูน่า
- รัฐสภาอิหร่านผ่านร่างกฎหมายเพิ่มโทษผู้หญิงที่แต่งกายไม่เหมาะสมซึ่งอาจถูกจำคุกนานถึง 10 ปี
- แม้หมาป่าจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และปศุสัตว์ แต่กลับมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศอย่างมาก
เคยสงสัยไหมว่าทำไมจีนจึงพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาอันสั้นและมีความก้าวหน้าอย่างโดดเด่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากการเป็นผู้ตามเทคโนโลยีกลายเป็นผู้ผลิต ส่งออกและกำลังจะเป็นผู้นำในหลายอุตสาหกรรม นอกจากเงินลงทุนของบริษัท ศักยภาพของทีมงานและบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว ยังมีปัจจัยเงื่อนไขอะไรอีกบ้างที่เป็นตัวหนุนเสริมทำให้จีนรุดหน้าเรื่องนี้
โสภิต หวังวิวัฒนา ชวน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน มาเล่าเบื้องหลังว่า นโยบายระดับชาติและการกำกับจากรัฐบาลจีนส่งผลอย่างไร รวมทั้งเล่าให้ฟังว่าล่าสุดนี้นวัตกรรมจีนล้ำไปถึงไหน พร้อมยกตัวอย่างการต่อยอดรถยนตร์ไร้คนขับ นำรถบรรทุกไร้คนขับไปใช้ในกิจการเหมืองแร่และงานเสี่ยงอันตรายหรือยากลำบากและการสแกนชำระเงินด้วยฝ่ามือในจีน เป็นต้น
- หลายเมืองในยุโรปและสหรัฐฯ จำกัดจำนวนเรือสำราญที่จะเข้าจอดเทียบหลังพบว่าเรือขนาดใหญ่นี้ส่งผลกระทบหลายอย่างและไม่ได้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจเท่าไรนัก
- การจับปลามากเกินไปทำให้ฉลามแนวปะการังใกล้สูญพันธุ์ซึ่งอาจส่งผลต่อความสมดุลของระบบนิเวศและกระทบมนุษย์ในที่สุด
- ผลกระทบจากเครื่องปรับอากาศตัวช่วยรับมือและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากอากาศร้อนจัด
EU เดินหน้าสู่ยุคพลังไฟฟ้า ประกาศห้ามขายรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในอีก 12 ปีข้างหน้า เกาหลีใต้ พร้อมผลักดัน แผนส่งเสริมให้คนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ส่อง Green Energy กับ กระแสรถ EV ในไทย
.
The Active PodCast กับ ซีรีส์ “taekook lives อะไร ๆ ก็เกาหลี !” ชวนมองความสำคัญของพลังงานสีเขียวผ่านการเติบโตด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเกาหลีใต้ กับ รศ.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ใน The Active Podcast EP.142 | เกาหลีใต้ : แผนระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า รักษาสิ่งแวดล้อม
หากพูดถึงขยะพลาสติก หลายคนมองว่าเป็นปัญหาที่ต้องเร่งจัดการและเป็นตัวการทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงไมโครพลาสติกที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย แต่ล่าสุดมีผลการศึกษาที่พบว่าขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร กำลังกลายเป็นแหล่งที่อยู่ใหม่ของสิ่งมีชีวิตในทะเล แต่ระบบนิเวศใหม่อาจจะกลายเป็นสิ่งที่กระทบต่อระบบนิเวศดั้งเดิม
นอกจากชาวจีนจะต้องเผชิญกับมลพิษทางอากาศแล้ว มลภาวะทางน้ำก็เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นผลพวงจากการเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมในอดีต ซึ่งรัฐบาลจีนพยายามออกกฎหมายควบคุมแต่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด
ล่าสุด 1 เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่เพื่อกำหนดแนวทางอนุรักษ์และฟื้นฟูทางนิเวศวิทยา และการควบคุมมลพิษทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ตามแนวแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลือง
โสภิต หวังวิวัฒนา ชวน รศ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล ที่ปรึกษาศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิเคราะห์ว่า ทำไมจีนยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และติดตามว่ารัฐบาลจีนใช้วิธีอย่างไรเพื่อจัดการกับผู้เปิดโปงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
