ปัญหารถโดยสารสาธารณะ
จากกรณีสาวรีวิวซื้อตั๋วรถทัวร์พรีเมียมเดินทางช่วงสงกรานต์ แต่กลายเป็นรถเสริม ออกรถช้า 2 ชม.ไม่มีพนักงานและไม่มีอาหารเครื่องดื่มบริการ ไร้คำขอโทษจากบริษัทรถทัวร์ และยังมีปัญหาจากกรณีอื่นอีกที่เกิดขึ้นซ้ำซาก สภาองค์กรของผู้บริโภคมีข้อเสนอแนะย้ำเตือนขอให้หน่วยงานกำกับดูแลรถสาธารณะ ใช้มาตรการกำกับอย่างเข้มงวด และถ้าผู้บริโภคเจอปัญหารถโดยสารต้องดูแลตัวเองอย่างไร
คุยกับ คุณคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาองค์กรของผู้บริโภค
ผู้ปกครองใส่ใจ สงกรานต์เด็กจะเดินทางโดยรถยนต์อย่างปลอดภัยด้วยที่นั่งนิรภัย (คาร์ซีท)
Car seat ปกป้องชีวิตของลูกได้อย่างไร? กฎหมายดี แต่อย่าให้ประชาชนมีภาระเกิน
ฟังจาก คุณกมลวรรณ คุณแม่ที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนแต่ลูก 4 เดือนปลอดภัยเพราะนั่งคาร์ซีท
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล และหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็ก รพ.รามาธิบดี
พ.ต.อ.หญิง จินดา กลับกลาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา กับ ชนาธิป ไพรพงค์ ตอน น้ำตาลเทียม
วิเคราะห์ เจาะลึก ข่าวเด่น ข่าวร้อน กับ สุทธิชัย หยุ่น, วีระ ธีรภัทร และ วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ กับการวิเคราะห์ประเด็น
- “บิ๊กตู่” ก้าวเท้าสู่เวทีทอล์กโชว์ พร้อมเปิดตัวเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
- ทิศทางการเมือง ศึกแย่งชิงที่นั่ง ส.ส. เพื่อก้าวสู่พรรคแถวหนึ่ง
- พรรคเพื่อไทยกับยุทธศาสตร์ “แลนด์สไลด์”
- ประเด็น "ตู่ห้าว" ส่งผลต่อแวดวงการเมืองหรือไม่ อย่างไร
- จับตาต่อเนื่องคดี "อธิบดีกรมอุทยานฯ" เรียกรับสินบน
- เปลี่ยนป้ายสถานีรถไฟ 33 ล้าน คุ้มหรือไม่ ประชาชนได้อะไร
ประเทศไทยได้ประกาศ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 มาตราที่ 123 ระบุว่า คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่พิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ หากฝ่าฝืนจะมีค่าปรับ 2,000 บาท ซึ่งกฎหมายจะมีผลบังคับใช้วันที่ 5 ก.ย. 2565 นี้ ขณะเดียวกันก็มีการถกเถียงกันในสังคมถึงความพร้อมในการจัดหาคาร์ซีทเพื่อนำมาใช้งาน
เด็กรู้สู้ภัยชวนคุณพ่อคุณแม่และน้อง ๆ มาทำความรู้จักและความสำคัญของคาร์ซีท อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุขณะใช้รถใช้ถนน รวมไปถึงวิธีการติดตั้งที่ถูกวิธีเพื่อให้เด็ก ๆ ได้รับอันตรายน้อยที่สุด
สั่งเก็บสินค้า เช่นแจ่วบองสำนักพระบิดาในจ.ชัยภูมิ หลังตรวจสอบพบสถานที่ วิธีผลิต สกปรก เสี่ยงรับเชื้อโรค
จากกรณีลัทธิประหลาด สั่งให้ลูกศิษย์กินปัสสาวะ กินเสมหะ อุจจาระ รวมถึงขี้ไคล อ้างว่ากินแล้วจะขึ้นสวรรค์นั้น การกินสิ่งเหล่านี้เข้าไปเป็นการเสี่ยงที่จะรับเชื้อโรคเต็มๆ เพราะสิ่งปฏิกูลสะสมเชื้อโรค เรามาฟังความคิดเห็นและคำแนะนำจากนักวิชาการ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ข้อบังคับใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก(คาร์ซิท) ผลดีและข้อเสนอเพื่อให้ราคาไม่แพง
หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ประกาศใช้และมีสาระสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็กในมาตรา123 โดยกำหนดให้เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือ “คาร์ซีท” หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ และเด็กที่มีความสูงไม่เกิน 135 ซม. ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หากไม่ปฏิบัติ มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท โดยจะมีผลในอีก 120 วันข้างหน้า หรือวันที่ 5 กันยายน 2565 ทำให้มีผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ยังมีการฉวยโอกาสขึ้นราคาของคาร์ซีทด้วย จะมีข้อเสนอเพื่อให้ราคาไม่แพงและการติดตั้งคาร์ซีทในรถสาธารณะ เช่นรถรับส่งนักเรียน อย่างไร
ฟังรายละเอียดจาก คุณคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาองค์กรของผู้บริโภค
มูลนิธิกระจกเงาส่งต่อคาร์ซีทราคาไม่แพง
ฟังรายละเอียดจาก คุณสิริพร สุขชูศรี หัวหน้าโครงการศูนย์ครูองุ่น
ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา และชนาธิป ไพรพงค์
ตอน งานวิจัยพบไมโครพลาสติกในตัวอย่างเลือดของมนุษย์ สิ่งที่น่ากังวลต่อสุขภาพของผู้บริโภค
ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก Car seat กฎหมาย, มาตรฐานและราคาที่ยุติธรรม
พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ กำหนดให้ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสาหรับเด็กหรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก หรือ คาร์ซีท สำหรับคนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกินหกปี เพื่อป้องกันอันตรายขณะโดยสารรถยนต์ แต่ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับราคาที่แพง การติดตั้งในรถ
ในแง่กฎหมายและมุมมองของคุณหมอเด็ก มีข้อพิจารณาตามหลักความปลอดภัยและข้อเสนอเรื่องราคาอย่างไร
ฟังรายละเอียดจาก รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
สิวและผื่นแพ้เมื่อใช้หน้ากากอนามัยแก้ไขอย่างไร
ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา และชนาธิป ไพรพงค์ ตอน รู้มาก-อดกิน รู้น้อย-อร่อยดี
ในคราวที่สร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ได้มีการสร้างช้างสำริดขึ้นบริเวณอัฒจรรย์ทางขึ้นพระที่นั่ง โดยรัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์เป็น 2 นัยคือ 1. เพื่อทบทวนอดีตของตำแหน่งที่ตั้งของพระที่นั่ง โดยตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 เคยเป็นโรงช้างเผือก 2. เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของบ้านเมืองและพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ ส่วนในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรูปปั้นช้างไปที่ไซ่ง่อน อีกด้วย