ชาคริต แก้วทันคำ นักเขียน กวี นักวิจารณ์วรรณกรรม และ “ม้าน้ำบนชิงช้าสวรรค์” ผลงานรวมเรื่องสั้นจำนวน 11 เรื่อง แบ่งออกเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคแรก อายุเยาวเรศฝัน, ภาคสอง ถูกทำให้ไม่ได้ยิน และ ภาคสาม ประเทศสัจนิยมมหัศจรรย์ ผลงานทั้งหมดเขียนในช่วงปี 2563-2565 นักเขียนบันทึกบริบทสังคมผ่านวรรณกรรมโดยใช้สถานการณ์ ข่าวสาร เหตุการณ์ในสังคมไทย ในระดับปัจเจก ระดับครอบครัว การบูลลี่ในโรงเรียน ระดับชุมชน หมู่บ้าน การพูดถึงความเป็นเมืองและปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหาที่เกิดขึ้นที่ชายแดนอำเภอแม่สอด จ.ตาก และ ชายแดนใต้ รวมถึงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง และ โควิด-19
.
ผลงานชุดนี้ นักเขียนใช้กลวิธีการเขียนแบบสัจนิยมมหัศจรรย์ เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ เพื่อให้ผู้อ่านร่วมตีความหมาย วิเคราะห์ อาทิ ประเด็นคติความเชื่อ เรื่องเล่า เพศสถานะ อำนาจและการต่อรอง
.
ชาคริตกล่าวว่า “หากลองอ่านทั้ง 3 ภาคต่อกันก็จะได้เป็นว่า อายุเยาวเรศฝัน ถูกทำให้ไม่ได้ยิน ในประเทศสัจนิยมมหัศจรรย์ มันก็จะบ่งบอกความหมายอะไรบางอย่างอยู่ในนั้น”
ปรากฏการณ์กวีนิพนธ์ร่วมสมัย เป็นโครงการที่ ชาคริต แก้วทันคำ จัดทำขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลผลงานประเภทกวีนิพนธ์ของกวีชาวไทยว่าในช่วงที่ผ่านมาและในปี 2565 มีปรากฏใดซึ่งควรหยิบยกมากล่าวถึง อย่างเช่น ผลงานที่ส่งเข้ารางวัลซีไรต์ประจำปี 2565 ประเภทกวีนิพนธ์, การเกิดขึ้นของเครือข่ายกวีสามัญสำนึก, สำนักพิมพ์ทางเลือกที่พิมพ์รวมเล่มงานเขียนของกวีในรูปแบบทำมือ เช่น เหล็กหมาดสำนักพิมพ์ โดยชาคริตจะนำเสนอภาพรวมและลงรายละเอียดโครงการว่ามีที่มา ความสำคัญ และวิธีการทำงานอย่างไร ประเด็นถัดมาที่ชาคริตนำเสนอในการพูดคุยคือปรากฏการณ์ของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ พื้นที่สาธารณะในการเผยแพร่ผลงานของกวี กับ เวทีของนักวิจารณ์ในรูปแบบของการส่งผลงานวิจารณ์เพื่อเผยแพร่และส่งเข้าประกวด ประเด็นสุดท้ายคือหัวใจหรือจรรยาบรรณของการเป็นนักวิจารณ์
“บางครั้ง วาทยกรก็ประพฤติเหมือนตัวตลก จนอดที่จะไม่วิจารณ์ไม่ได้” ฟังเรื่องเกี่ยวกับการวิจารณ์ดนตรี จาก นายบวรพงศ์ ศุภโสภณ นักวิจารณ์ดนตรีมืออาชีพ