ในฟุตบอลระดับโลก มีหลายชาติที่เข้ามาท้าชิงความเป็นที่หนึ่งในวงการกันอยู่ตลอด ทั้งอันดับ FIFA Ranking ของทีมชาติ , การคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก , ลีกฟุตบอล ไปจนถึงการส่งออกนักเตะคุณภาพ ในขณะที่สปอตไลท์ส่องลงไปยังชาติชั้นนำในยุโรปทั้งหลาย เช่น อังกฤษ เยอรมัน สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส เป็นต้น แต่จะมีอยู่หนึ่งชาติที่แม้จะไม่ได้มีสโมสรที่แข็งแกร่งเท่าชาติยุโรป แต่ด้วยฝีไม้ลายมือของนักเตะที่โดดเด่นก็ทำให้ ทีมชาติบราซิล เป็นเต้ยของชาติมหาอำนาจลูกหนังมาเป็นเวลานาน
.
นี่คือชาติที่หากนับกันตามผลงานและสถิติเพียว ๆ แล้ว ถือว่าเก่งเรื่องฟุตบอลมากที่สุดในโลกเลยก็คงไม่เกินจริง แค่ตำแหน่งแชมป์ฟุตบอลโลก 5 สมัยก็เป็นเครื่องการันตีที่เพียงพอแล้ว ทว่า เบื้องหลังความเก่งกาจของทีมชาติบราซิลนั้น คือสิ่งที่น่าสงสัยและน่ามาหาคำตอบกันซะเหลือเกิน
.
เพราะในขณะที่วงการฟุตบอลของบราซิลมีทีมชาติที่เก่งกาจ ผลิตนักเตะฝีเท้าฉกาจมากมาย แต่เราคงต้องยอมรับกันตามตรงว่าบราซิลเป็นประเทศที่มีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ และสังคมอยู่มาก ที่นำมาสู่ปัญหาความยากจนที่ประชากรส่วนมากในบราซิลต่างก็เป็นคนจนในสลัมทั้งนั้น
.
นี่จึงเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่ทำให้ทาง Foot of View จะนำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นของเราในตอนที่ 8 นี้ มาร่วมหาคำตอบไปกันว่า “เหตุไฉนประเทศที่เต็มไปด้วยปัญหาอย่างบราซิล ถึงได้ไม่เคยขาดนักเตะระดับโลก”
- ทัศนคติของคนญี่ปุ่นนิยมทำงาน "ไม่ประจำ" เพราะต้องการให้เวลากับตัวเอง ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะส่งผลต่อเงินในระบบประกันสังคมที่อาจไม่พอเลี้ยงตัวเองในยามชรา
- ทำไมคนเยอรมนีถึงไม่นิยมถ่าย "เซลฟี่"?
- ชายชาวเยอรมันวัย 62 ปี ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 มากถึง 217 เข็มภายในระยะเวลา 29 เดือน ขณะที่ผลตรวจร่างกายไม่มีสัญญาณว่าติดเชื้อไวรัสโควิดและไม่พบผลข้างเคียงใดๆ
- ฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศแรกของโลกที่รับรองสิทธิ์ในการยุติการตั้งครรภ์ไว้ในรัฐธรรมนูญ/ สหรัฐฯ เตรียมขายยาคุมกำเนิดแบบไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์
- รายงานเผยสุนัขของผู้นำสหรัฐฯ กัดเจ้าหน้าที่อารักขา 24 ครั้งในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี
- บริษัท Apple ออกมาเตือนหาก iPhone เปียกน้ำ ห้ามนำไปแช่ในถังข้าวสารเด็ดขาด เพราะเมล็ดข้าวสารขนาดเล็กอาจทำให้โทรศัพท์เสียหายได้
- หญิงเช็กวัย 80 ปีเขียนวิกิพีเดียเป็นงานอดิเรกหลังเกษียณ
สักวันเราจะเล่าทุกอย่างสู่กันฟัง นวนิยายที่นำเสนอเรื่องราวความรัก การเติบโตของวัยรุ่นชาวเยอรมัน บทบาทของผู้หญิงและเพศสถานะอื่น การปะทะกันระหว่างยุคเก่าและยุคใหม่ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงรวมประเทศของเยอรมนี ว่ามีผลกระทบต่อคนทั้งประเทศ การเมืองระหว่างประเทศ และบริบทด้านสังคม วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ การเรียนรู้ อย่างไรบ้าง
.
ขณะเดียวกันนักเขียน ดานีเอลา ครีน ก็ใช้การเล่าเรื่องผ่านสัญญะมากมาย เพื่อให้ผู้อ่านได้ตีความอย่างอิสระ เช่น การบรรยายสภาพภูมิประเทศ ความสัมพันธ์ต่างวัยของตัวเอกในเรื่องที่เป็นตัวแทนของยุคเก่ากับยุคใหม่ หรือ การนำวรรณกรรมรัสเซียมาพูดถึงเพื่อเสนอให้เห็นว่าการอ่านเชื่อมความรักต่างวัยของตัวละคร นวนิยายเรื่องนี้แปลจากต้นฉบับภาษาเยอรมันสู่ภาษาไทย โดย ปิยะกัลย์ สินประเสริฐ ซึ่งจะมาเล่าบางอย่างสู่กันฟัง ใน หลบมุมอ่าน
.
“เราเข้าใจแล้วว่าทำไมนักเขียนถึงได้รับรางวัล และเป็นนักเขียนที่เก่ง เพราะว่าจังหวะการเขียนของเขา แม้ว่ามันจะเป็นตัวหนังสือ แต่เวลาเราอ่าน เวลาเราแปล มันมีจังหวะร้อยเรียงกันไป แล้วก็มีการเร่ง การผ่อนในจังหวะของเนื้อเรื่องตามที่เขาต้องการ” – ปิยะกัลย์ สินประเสริฐ / ผู้แปล “สักวันเราจะเล่าทุกอย่างสู่กันฟัง”
อำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นอำเภอเล็กๆ แต่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เกี่ยวพันกับตำนานการเดินทางไกลจากละโว้สู่หริภุญชัย ของพระนางจามเทวี เมื่อกว่า ๑,๒๐๐ ปีก่อน ปัจจุบันยังเป็นที่เลื่องลือว่าอำเภอนี้เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟที่มีรูปทรงสถาปัตยกรรมสวยงามแปลกตาเพียงหนึ่งเดียวของสยามประเทศ นั่นคือสถานีรถไฟบ้านปิน สถานีรถไฟขนาดเล็กระดับอำเภอ แต่โดดเด่นด้วยรูปทรงสไตล์ “เฟรมเฮ้าส์” แบบบาวาเรียน (Bavarian Timber Frame House) ซึ่งเป็นที่นิยมมากในแคว้นบาวาเรียของเยอรมัน ผสมผสานเข้ากับเรือนปั้นหยาแบบไทยๆ ประตูหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตูหน้าต่างและหน้าช่องจำหน่ายตั๋วประดับด้วยไม้ฉลุลายพรรณพฤกษาดูน่ารักน่าเอ็นดู
.
“จึงน่าสนใจใคร่รู้ยิ่งนัก ว่าเหตุใด จึงมีสถานีรถไฟสไตล์บาวาเรียของเยอรมัน มาตั้งโดดเด่นอยู่ท่ามกลางป่าสักใหญ่ในอำเภอเล็กๆ เป็นเวลานานนับศตวรรษมาแล้ว” ธีรภาพ โลหิตกุล
.
ทีละเรื่อง ทีละภาพ สารคดีจากบันทึกการเดินทางในภูมิภาคอาเซียนของ ธีรภาพ โลหิตกุล ตอนนี้จะแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับ สถานีรถไฟบ้านปิน สถานีรถไฟสไตล์บาวาเรียของเยอรมันในอำเภอเล็ก ๆ ของจังหวัดแพร่ กัน
.
ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนร่วม กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางครั้งนี้
ตามต่อกับชีวิตอันยืนยาวของ Richard Strauss นักประพันธ์ชาวเยอรมัน ที่ล้มลุกคลุกคลานผ่านสงครามโลกมาแล้วทั้ง 2 รอบ แต่ไม่ว่าจะเจออุปสรรคแค่ไหนเขาก็สามารถกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ได้เสมอ ผลงานของเขามีดีอย่างไรทำไมคนถึงรักและยกย่อง
GenZ and Classical Music จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับสุดยอดนักประพันธ์ชาวเยอรมัน Richard Strauss ว่าเขาเป็นใคร อะไรทำให้เขาเลือกเดินต่อในเส้นทางดนตรี พ่อของเขาซึ่งเป็นนักฮอร์นผู้เก่งกาจมีอิทธิพลต่อชีวิตในวงการอย่างไรบ้าง สรุปแล้วเขาเกี่ยวข้องอะไรกับตระกูล Strauss จากเวียนนาหรือไม่?
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ นักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัยชาวไทย ผู้นำความรู้ในแขนงดนตรีตะวันตกมาปรับใช้ในดนตรีของไทย และเสนอว่าเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ดำรงอยู่ในดนตรีไทย ในเพลงไทย ในวรรณคดีไทย และในสังคมไทย
.
วันนี้รายการจะพาผู้ฟังทุกท่านไปรู้จักกับ กับเรื่องราวจุดเริ่มต้นที่ทำให้ตกหลุมรักดนตรีคลาสสิกและประสบการณ์การฟังดนตรีสดจากหลากหลายวงทั่วโลกตลอดช่วงชีวิตของท่าน
ไม่เพียงแค่เราจะต้องระวังจากโรคที่กำลังระบาดในปัจจุบันอย่างโควิด-19 เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวที่อุณหภูมิลดต่ำลงต้องระวังโรคนี้เพิ่มขึ้น เพราะพบสถิติการติดเชื้อโควิด-19 ในฤดูนี้เพิ่มจำนวนขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ยังพบการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นโรคที่ติดต่อผ่านการไอ จาม ไม่เพียงทำให้คนที่ติดต่อเจ็บป่วย แต่อาจเจอภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ อากาศที่เย็นลง การดำรงชีวิตของเชื้อโรคต่าง ๆ จึงยาวนานขึ้น โรคและอาการอะไรที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งในฤดูนี้ แพทย์อายุรกรรมโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก เล่าให้ฟังในรายการ โรงหมอ ค่ะ
โรคสุดฮิตที่มักป่วยกันในช่วงนี้คือ ไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่, ปอดบวม, หัด, อุจจาระร่วง และไข้สุกใส ซึ่งบางโรคบางอาการสามารถรักษาตามอาการและหายเองได้ แต่บางโรคหากมีภาวะแทรกซ้อนก็อาจทำให้เสียชีวิตได้หากไปพบแพทย์ไม่ทัน ไม่เพียงเท่านั้นโรคเดิมที่ยังคงระบาดอยู่อย่างเช่น โควิด-19 ก็ยังคงต้องเฝ้าระวังมากขึ้นในฤดูนี้เช่นกัน
VERZEICHNIS EINIGER VERLUSTE จากภาษาเยอรมันเป็นภาษาไทยในชื่อ "หายสาบสูญ" งานเขียนของ Judith Schalansky และ โปรดปราณ อรัญญิก แปล
"เช่นเดียวกับหนังสือทุกเล่ม หนังสือเล่มนี้ก็เกิดจากความปรารถนาที่จะให้บางสิ่งอยู่รอด นำอดีตมาสู่ปัจจุบัน ปลุกเรื่องที่ถูกลืมให้คืนสู่ความทรงจำ ในสิ่งที่เงียบงันได้ส่งเสียงและไว้อาลัยต่อสิ่งที่สูญหาย งานเขียนไม่สามารถนำสิ่งใดกลับคืนมา แต่สามารถทำให้ทุกสิ่งสัมผัสเข้าถึงได้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงว่าด้วยการค้นหาเช่นเดียวกับการค้นพบ ว่าด้วยการสูญเสียเช่นเดียวกับการได้รับ และให้ความรู้สึกว่า ความแตกต่างระหว่างการมีอยู่และการไม่มีอยู่อาจไม่สลักสำคัญนัก ตราบใดที่มีความทรงจำ" (หายสาบสูญ, หน้า 27-28)
"จรวด" ยานพาหนะที่พาให้มนุษย์เดินทางจากพื้นดินสู่ดวงดาว ตั้งแต่ความสงสัยใคร่รู้แรก ๆ ของมนุษย์ในการขึ้นสัมผัสกับวัตถุบนท้องฟ้า สู่ยุคแห่งการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และการก่อสงคราม ปัจจัยใดที่ทำให้บันไดสู่ดวงดาวของมนุษย์เกิดขึ้นได้จริง พบกับตอนย่อย 3 ตอนที่จะมาพูดถึงเรื่องราว ประวัติศาสตร์ อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของจรวด ทั้งในแง่มุมประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง และอิทธิพลที่มีต่อการสำรวจอวกาศของมนุษย์ เล่าเรื่องโดย เติ้ล ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน บรรณาธิการบริหารสื่อออนไลน์ Spaceth.co
“เพราะความรักมิอาจเร่งร้อน” วรรณกรรมที่ใช้ภาษาเยอรมัน ผลงานของ Daniela Krien นักเขียนชาวเยอรมัน แปลเป็นภาษาไทยโดย ปิยะกัลย์ สินประเสริฐ นำเสนอเรื่องราวความรักของผู้หญิง 5 คนซึ่งมีความแตกต่างกันแต่เชื่อมโยงผ่านสถานะทางเพศกับความรัก งานเขียนเรื่องนี้ยังนำเสนอและให้ภาพสะท้อนสังคมร่วมสมัยของเยอรมันผ่านตัวละคร ทำให้ผู้อ่านซึมซับสังคม การเมือง วัฒนธรรม ทัศนคติ มุมมองต่อโลกและชีวิตของผู้หญิงหรือผู้คนจากเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกในอดีต ดังนั้น ขณะที่ความรักมิอาจเร่งร้อน การอ่านเพื่อค้นพบสิ่งที่ซ่อนระหว่างบรรทัดในเรื่องนี้ก็มิอาจเร่งร้อน
นอกจากนี้ ปิยะกัลย์ สินประเสริฐ ยังเล่าถึงประสบการณ์ทำงานแปลเล่มแรก การฟังหนังสือเสียงมีส่วนช่วยในการทำงานแปลในด้านใดบ้าง และการอัปเดตภาษาเยอรมันในแต่ละปีว่ามีผลต่อการแปลอย่างไร
อนุสรณ์และพิพิธภัณฑ์ค่ายกักกันเอาชวิทซ์-เบียเคอเนา ในประเทศโปแลนด์ ที่นี่เรียกได้ว่าเป็นค่ายมรณะที่มีการสังหารหมู่โหดร้ายที่สุดในโลก ประโยคหนึ่งที่สลักอยู่บนหลุมศพของเหยื่อเขียนเอาไว้ว่า
“ให้สถานที่แห่งนี้เป็นเสียงร่ำไห้แห่งความสิ้นหวัง เป็นคำเตือนต่อมนุษยชาติถึงเหตุการณ์ที่นาซีสังหาร บุรุษ สตรี และเด็กกว่า 1.5 ล้านคน โดยเฉพาะชาวยิวจากหลายประเทศในยุโรป”
สรวง สิทธิสมาน จะพาไปสัมผัสเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่โหดร้ายและปวดร้าวของชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง